ภูมิปัญญาท้องถิ่น (พรมเช็ดเท้า)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลชำผักแพว (บ้านมะขามป้อมใหม่) หมู่ 6 คือกลุ่มอาชีพทอพรมเช็ดเท้า ครั้งแรกชุมชนของเรามาจากที่เหล่าแม่บ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันในเวลาว่างนั่งทอพรมเช็ดเท้าใช้กันในบ้าน สอนกันทำไปเรื่อยจนเกิดความคิดที่อยากจะสร้างรายได้จากพรมเช็ดเท้า จึงมีการประชุมปรึกษากันโดยได้จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพทอพรมเช็ดเท้า ครั้งแรก พ.ศ. 2553 ได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชน โดยประธานกลุ่มคือ คุณคำภี อุโส ได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชน หลังจากนั้นก่อได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลชำผักแพว
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. วง - ห่วงถุงเท้า
2. กรรไกร
3. ตลับเมตร
โดยใช้มือเพื่อเป็นอุปกรณ์หลัก (ไม่ต้องใช้เครื่องจักร - เครื่องมือที่มีราคาแพง)
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก เริ่มแรก เราต้องแยกคัดสี แต่ละสีออกก่อน เพื่อที่จะสะดวกในการทำขั้นตอนการทำ คือ
1. นับห่วงถุงเท้าหรือวง จำนวน 24 ห่วง - วง
2. เริ่มต้นจุดศูนย์กลาง (ขึ้นตรงกลาง) 24 ห่วง - วง
3. ร้อยห่วง - วง จนครบ 24 ห่วง
4. ผูกให้แน่น (หรือดึง)
5. มัดซ้ำอีก 2 ครั้ง (เพื่อให้แน่น)
6. จับทีละ 4 เส้น แล้วสอดเข้าไป จนครบห่วง - วง
7. ขึ้นขาครั้งแรก 4 ห่วง แล้วสอดทีละ 2 ห่วง 2 ครั้ง
8. ทำไปให้ได้ 6 รอบ หรือ 14 นิ้ว
9. รอบที่ 7 (ใส่ขอบ) แต่ต้องเปลี่ยนสีให้ออกโทนสีเด่นชัด เพื่อที่จะเด่น
10. รอบที่ 7 เสร็จแล้วผูกให้แน่น ตรวจดูด้วย (เศษด้ายหรือที่ติดมากับห่วง - วง) จัดดึงให้ได้รูปทรงตามต้องการ
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
ในการทำพรมเช็ดเท้า ระหว่างทำ ประกอบ ต้องไม่ดึงห่วง - วง ให้ดึงพอตึงมือก็พอ เพราะมันจะยืดเวลาทำเสร็จเป็นผืนมันจะไม่ได้รูปทรง จะยาน อายุการใช้งานก็น้อยลง
|